ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

คิม อิล-ซ็อง

คิม อิล-ซ็อง (เกาหลี: ???, ฮันจา: ???, MC: Kim Il-s?ng, MR: Gim Il-seong, 15 เมษายน พ.ศ. 2455 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537) เป็นผู้นำคนแรกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ก่อตั้งประเทศเมื่อ พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ. 2515 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ พ.ศ. 2515 กระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2537 นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานเกาหลี ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 จนถึง พ.ศ. 2537 คิม อิล-ซ็องเป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะผู้เผด็จการในระบอบคอมมิวนิสต์ของประเทศเกาหลีเหนือ โดยดำรงตำแหน่งอยู่ในอำนาจในฐานะผู้นำของประเทศเกาหลีเหนือเป็นเวลายาวนานถึงสี่สิบกว่าปี ดำรงตำแหน่งในช่วงสำคัญในประวัติศาสตร์อันได้แก่สงครามเย็นและสงครามเกาหลี มีการพัฒนาลัทธิบูชาบุคคลขึ้นมาสำหรับคิม อิล-ซ็องโดยเฉพาะ หลังคิม อิล-ซ็อง ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว รัฐบาลเกาหลีเหนือภายใต้การนำของประธานาธิบดีคิม จ็อง-อิล บุตรชาย ได้ให้สมญานามแก่เขาว่า "ประธานาธิบดีตลอดกาล" (Eternal President เกาหลี: ??? ??, Yeongwonhan Juseok) เมื่อ พ.ศ. 2554

อัตชีวประวัติของประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง นั้นได้มาจากตัวประธานาธิบดีเองและการจัดพิมพ์ของรัฐบาลเกาหลีเหนือ ซึ่งข้องเท็จจริงบางประการนั้นขัดแย้งกับหลักฐานจากภายนอก ประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2455 เดิมมีชื่อว่า คิม ซ็อง-จู (เกาหลี: ???, ???) ที่หมู่บ้านมันกย็อง (เกาหลี: ??) ในเมืองเปียงยาง จังหวัดพย็องอันใต้ของเกาหลีเหนือในปัจจุบัน เป็นบุตรชายคนโตของนายคิม ฮย็อง-จิก (เกาหลี: ???) และนางคัง พัน-ซ็อก (เกาหลี: ???) มีน้องชายสองคนได้แก่ คิม ช็อล-จู และคิม ย็อง-จู:15 ครอบครัวของคิม ซ็อง-จู นับถือคริสต์ศาสนานิกายเพรสบีเทอเรียน บิดา คิม ฮย็อง-จิก เป็นครู เกาหลีในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิญี่ปุ่น เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นนั้นประสบปัญหาภาวะข้าวยากหมากแพงเป็นเหตุให้ครอบครัวของคิม อิล-ซ็อง อพยพย้ายไปอาศัยยังมณฑลจี๋หลิน แคว้นแมนจูเรีย ของสาธารณรัฐจีนเมื่อประมาณ พ.ศ. 2463 เมื่อคิม ซ็อง-จู นั้นยังอายุน้อย

คิม อิล-ซ็อง ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่มณฑลจี๋หลิน เนื่องจากเติบโตมาในแมนจูเรีย คิม อิล-ซ็อง จึงพูดภาษาจีนกลางเป็นหลักและบางหลักฐานบอกว่า คิม อิล-ซ็อง นั้นพูดภาษาเกาหลีได้น้อยมากในวัยเยาว์ ชีวประวัติซึ่งแต่งโดยรัฐบาลเกาหลีเหนือบรรยายว่าคิม อิล-ซ็อง มีบทบาทและมีความกระตือรือร้นในการเคลื่อนไหวปลดแอกเกาหลีจากการปกครองของญี่ปุ่น และยึดมั่นในลัทธิคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งถูกทางการสาธารณรัฐจีนจับกุมตัว ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ ไม่พบหลักฐานรายละเอียดว่า คิม ซ็อง-จู เข้าร่วมลัทธิคอมมิวนิสต์ได้อย่างไร เมื่อ พ.ศ. 2474 คิม ซ็อง-จู เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในปีเดียวกันนั้นเองเกิดเหตุการณ์มุกเดน เป็นเหตุให้จักรวรรดิญี่ปุ่นยกทัพเข้ารุกรานแมนจูเรีย นำไปสู่สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 คิม ซ็อง-จู จึงได้เข้าร่วมทหารกองโจรคอมมิวนิสต์จีนต่อสู้เพื่อต้านทานการรุกรานของญี่ปุ่น ระหว่างการต่อสู้ต้านทานญี่ปุ่นภายใต้ธงของรัฐบาลจีนนั้น คิม ซ็อง-จู ได้รู้จักกับเว่ย์ เจิ้งหมิน (Wei Zhengmin) ผู้บังคับบัญชาชาวจีนซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวความคิดทางด้านลัทธิคอมมิวนิสต์และเปรียนเสมือนเป็นอาจารย์ของคิม ซ็อง-จู

พ.ศ. 2478 คิม ซ็องจูเปลี่ยนชื่อของตนเองเป็นคิม อิล-ซ็อง คิม อิล-ซ็อง ไต่เต้าสายการบังคับบัญชาของกองทัพจีนในแมนจูเรียขึ้นมาตามลำดับ จนกระทั่งได้เป็นผู้บังคับบัญชามีกองกำลังเป็นของตนเอง สงครามจีน-ญี่ปุ่นอันเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองยืดเยื้อยาวนานจนกระทั่งกองทัพฝ่ายจีนในแมนจูเรียถูกลดทอนกำลังลงและสูญเสียผู้บังคับบัญชาไปมาก คิม อิล-ซ็อง ซึ่งในขณะนั้นเป็นหนึ่งในผู้บังคับบัญชาเพียงไม่กี่คนของจีนที่ยังมีชีวิตรอด ถูกกองทัพญี่ปุ่นโจมตีจนต้องล่าถอยข้ามแม่น้ำอามูร์เข้าไปยังอาณาเขตของสหภาพโซเวียต เมื่อ พ.ศ. 2483 คิม อิล-ซ็อง พำนักอยู่ที่เมืองเวียตสกอย (Vyatskoye) ดินแดนฮาบารอฟสค์ (Khabarovsk Krai) ประเทศรัสเซียในปัจจุบัน และเข้าร่วมกองทัพแดง ของสหภาพโซเวียต ที่เมืองเวียดสกอยในปี พ.ศ. 2484 คิม อิล-ซ็อง ได้สมรสกับนางคิม จ็อง-ซุก (เกาหลี: ???) นางคิม จ็อง-ซุก ได้ให้กำเนิดบุตรชายคนแรกคือ คิม จ็อง-อิล ในปีเดียวกัน

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 จักรวรรดิญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนต่อสงครามโลกครั้งที่สอง และทัพโซเวียตเข้ายึดเมืองเปียงยาง เกาหลีพ้นจากการเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น และด้วยมติของสหประชาชาติให้เกาหลีอยู่ในภาวะทรัสตี (Trusteeship) โดยสหภาพโซเวียตเข้ากำกับดูแลดินแดนเกาหลีทางตอนเหนือ ในขณะที่สหรัฐอเมริกากำกับดูแลเกาหลีทางตอนใต้ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) ผู้นำสหภาพโซเวียตต้องการสรรหาผู้นำชาวเกาหลีซึ่งจะปกครองเกาหลีส่วนเหนือที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของโซเวียตต่อไป ลาฟเรนตี เบเรีย (Lavrentiy Beria) ได้แนะนำคิม อิล-ซ็อง ต่อสตาลิน ให้เป็นผู้ปกครองดินแดนเกาหลีเหนือ คิม อิล-ซ็อง จึงเดินทางกลับมายังเกาหลีโดยเทียบท่าที่เมืองวอนซันในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 ในเดือนธันวาคมสหภาพโซเวียตประกาศให้คิม อิล-ซ็อง เป็นหัวหน้าพรรคแรงงานเกาหลี แม้ว่าพรรคแรงงานแห่งเกาหลีเดิมนั้นมีที่ทำการอยู่ที่โซล และมีหัวหน้าอยู่ก่อนแล้วคือพัก ฮ็อน-ย็อง (เกาหลี: ???) ด้วยการสนับสนุนของสหภาพโซเวียต คิม อิล-ซ็อง จึงสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำคอมมิวนิสต์สูงสุดของเกาหลีเหนือได้สำเร็จ

นอกเหนือจากคิม อิล-ซ็อง สหภาพโซเวียตได้พยายามที่จะรวบรวมบุคคลและองค์กรต่าง ๆ ของชาวเกาหลีที่ให้การสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาสู่รัฐบาลเกาหลีเหนือ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 พรรคประชาชนใหม่ของคิม ดู-บง (เกาหลี: ???) และพรรคแรงงานเกาหลีที่โซลของนายพัก ฮ็อน-ย็อง ถูกยุบรวมเข้ากับพรรคแรงงานแห่งเกาหลีของนายคิม อิล-ซ็อง กลายเป็นสภาประชาชนชั่วคราวแห่งเกาหลีเหนือ โดยมีคิม อิล-ซ็อง เป็นผู้นำ แต่ทว่าตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานนั้นตกเป็นของคิม ดู-บง ในฐานะผู้นำของสภาประชาชนคิม อิล-ซ็อง ได้ปฏิรูประบบที่ดินในเกาหลี ซึ่งในสมัยการปกครองของญี่ปุ่นนั้นดินแดนส่วนใหญ่ในเกาหลีมีนายทุนชาวญี่ปุ่นเป็นเจ้าของ คิม อิล-ซ็อง ได้จัดสรรที่ดินใหม่ทั้งหมดตามหลักการของลัทธิคอมมิวนิสต์

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2490 สหประชาชาติมีมติให้รัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งที่โซลมีอำนาจปกครองทั่วทั้งคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งเป็นข้อตกลงที่สหภาพโซเวียตไม่เห็นชอบด้วย เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่โซลนำโดยอี ซึง-มัน (Yi Seung-man; เกาหลี: ???) ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเกาหลีในเดือนต่อมากันยายน พ.ศ. 2491 สหภาพโซเวียตจึงยกระดับสภาประชาชนเกาหลีเหนือขึ้นเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Democratic People's Republic of Korea; DPRK) โดยมีนายคิม อิล-ซ็อง เป็นนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีคิม อิล-ซ็อง จัดตั้งกองทัพประชาชนเกาหลี เพื่อเป็นกองกำลังทหารประจำรัฐ คิม อิล-ซ็อง รวบรวมพรรคคอมมิวนิสต์อื่น ๆ ในเกาหลีจัดตั้งเป็น แนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อเอกภาพแห่งปิตุภูมิ (Democratic Front of the Reunification of the Fatherland) โดยมีพรรคแรงงานแห่งเกาหลีของคิม อิล-ซ็อง เป็นแกนนำหลัก

นายกรัฐมนตรีคิม อิล-ซ็อง นิยมการบริหารประเทศในแบบของโจเซฟ สตาลิน จนนำมาเป็นแบบอย่าง คิม อิล-ซ็อง เริ่มการสร้างลัทธิบูชาตัวบุคคล (cult of personality) ของเขาเองขึ้นมา เริ่มมีการเรียกคิม อิล-ซ็อง ว่า "ท่านผู้นำ" (Great Leader) รูปปั้นเสมือนของคิม อิล-ซ็อง ก็เริ่มปรากฏขึ้นในสมัยนี้เช่นกัน

นางคิม จ็อง-ซุก สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งภรรยาคนแรกของคิม อิล-ซ็อง ผู้เป็นมารดาของคิม จ็อง-อิล ได้ให้กำเนิดบุตรชายคนที่สองคือ คิม มัน-อิล (เกาหลี: ???) ใน พ.ศ. 2487 และได้ให้กำเนิดบุตรสาวคนโตคนแรกคือ คิม คย็อง-ฮี (เกาหลี: ???) เมื่อ พ.ศ. 2489 แต่ทว่าคิม มัน-อิล ได้เสียชีวิตจากการจมน้ำในสระว่ายน้ำใน พ.ศ. 2490 ด้วยอายุเพียงสามปี จากนั้นใน พ.ศ. 2492 นางคิม จ็อง-ซุก ก็เสียชีวิตจากการให้กำเนิดบุตรคนที่สี่ คิม อิล-ซ็อง สมรสใหม่ในอีกสามปีต่อมา พ.ศ. 2495 กับเลขานุการส่วนตัว คิม ซ็อง-แอ (เกาหลี: ???) ระหว่างช่วงสงครามเกาหลี

เมื่อจัดตั้งรัฐทั้งสองในคาบสมุทรเกาหลีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้ถอนกำลังของตนออกจากคาบสมุทรเกาหลีใน พ.ศ. 2492 นายกรัฐมนตรีคิม อิล-ซ็อง เล็งเห็นว่ากองกำลังทหารของฝ่ายเกาหลีใต้นั้นอ่อนแอเมื่อปราศจากการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา จึงเสนอต่อสตาลินว่าจะเข้ารุกรานเกาหลีใต้เพื่อรวมคาบสมุทรเกาหลีให้เป็นหนึ่งภายใต้การปกครองของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ซึ่งฝ่ายสตาลินนั้นเห็นด้วยเนื่องจากคาดการณ์ว่าสหรัฐอเมริกาซึ่งได้ถอนกำลังไปหมดแล้วจะไม่เข้าช่วยฝ่ายเกาหลีใต้ สตาลินจึงจัดให้มีการฝึกการรบและติดอาวุธที่ทันสมัยให้แก่กองทัพประชาชนเกาหลีเพื่อเตรียมการณ์สำหรับการรุกรานเกาหลีใต้ สำหรับฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การนำของเหมา เจ๋อตงนั้น ยังคงลังเลที่จะให้การสนับสนุนแก่เกาหลีเหนือ เนื่องจากเหมาเจ๋อตงมีความเห็นว่าฝ่ายสหรัฐอเมริกาจะต้องเข้าช่วยเกาหลีใต้อย่างแน่นอน

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2493 คิม อิล-ซ็อง มอบหมายให้ ชเว ยง-ก็อน (เกาหลี: ???) ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลี นำกองทัพประชาชนเกาหลีเข้ารุกรานเกาหลีใต้ข้ามเส้นขนานที่ 38 และเข้าบุกยึดนครโซลได้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประณามการกระทำของฝ่ายเกาหลีเหนือและลงมติให้ประเทศสมาชิกส่งกองกำลังรวมในนามของสหประชาชาติเข้าต้านทานการรุกรานของเกาหลีเหนือ ฝ่ายสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ตัดสินใจนำส่งทัพเข้าช่วยเหลือฝ่ายเกาหลีใต้ ทัพอเมริกาเอาชนะทัพเกาหลีเหนือได้ในยุทธการวงรอบปูซาน และทัพผสมนานาชาติในนามของสหประชาชาติยกพลขึ้นบกที่เมืองอินชอน ในเดือนกันยายนทัพฝ่ายเกาหลีใต้สามารถยึดนครโซลคืนไปได้ ทัพเกาหลีเหนือจึงล่าถอยกลับไปเหนือเส้นขนานที่ 38

การรุกรานเกาหลีใต้ของคิม อิล-ซ็อง ใน พ.ศ. 2493 เป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่ของคิม อิล-ซ็อง ทัพผสมสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติเมื่อยุติการรุกรานของเกาหลีเหนือได้แล้ว ก็หวังผลการรวมคาบสมุทรเกาหลีไว้กับรัฐบาลที่โซล จึงยกพลขึ้นเหนือจากเส้นขนานที่ 38 ในเดือนตุลาคม เข้ารุกรานเกาหลีเหนือ เข้ายึดเมืองเปียงยางได้ กองทัพประชาชนเกาหลีแตกพ่าย คิม อิล-ซ็อง หลบหนีจากเมืองเปียงยางไปยังมณฑลจี๋หลินของสาธารณรัฐจีน เมื่อทัพสหรัฐอเมริกายกพลมาจนใกล้ถึงแม่น้ำยาลู ฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีนภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตงมีความเห็นว่าฝ่ายสหรัฐอเมริกานั้นเข้ามาคุกคามใกล้เคียงกับเขตแดนของสาธารณรัฐประชาชนจีนมากจนเกินทน จึงส่งเผิง เต๋อหฺวาย (จีน: ???, P?ng D?hu?i) นำกองทัพอาสาประชาชนเข้าช่วยฝ่ายเกาหลีเหนือ โดยฝ่ายสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติไม่ทันตั้งตัวถูกโจมตีจนล่าถอยกลับลงมาสู่เส้นขนานที่ 38 กองทัพสหประชาชาติ กองทัพอาสาประชาชนของจีน และกองทัพประชาชนเกาหลี เจรจาทำข้อตกลงสงบศึกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2496 ที่หมู่บ้านพันมุนจ็อม (เกาหลี: ???) ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะกำหนดเขตปลอดทหาร ความกว้างสี่กิโลเมตรระหว่างเขตแดนของทั้งสองประเทศ

สงครามเกาหลีเป็นความล้มเหลวพ่ายแพ้ของคิม อิล-ซ็อง ด้วยการช่วยเหลือของกองทัพอาสาสมัครประชาชนของจีนจึงสามารถขับให้กองทัพสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติออกไปจากเกาหลีเหนือได้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลเกาหลีเหนือในสมัยต่อมาได้บิดเบือนประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามเกาหลี โดยกล่าวว่าฝ่ายสหรัฐอเมริกาเป็นผู้เริ่มการรุกรานเกาหลีเหนือก่อน และเกาหลีเหนือได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในสงครามโดยที่สามารถขับไล่กองทัพล่าอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาออกไปได้

หลังสงครามเกาหลีเป็นช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูประเทศ คิม อิล-ซ็อง ริเริ่มแนวความคิดช็อลลีมา (Chollima Movement; เกาหลี: ?????) หรือ "ม้าหมื่นลี้" เป็นแนวความคิดของการใช้ทรัพยากรธรรรมชาติและทรัพยากรคนอย่างหนักหน่วง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อฟื้นฟูประเทศจากสงครามเกาหลี ทำให้เกาหลีเหนือมีระบบเศรษฐกิจแบบบังคับ (command economy) ชาวเกาหลีเหนือจำนวนมากถูกเกณฑ์เข้าเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาล เพื่อเร่งผลผลิตออกมาใช้ในประเทศ

ในสมัยต้นของเกาหลีเหนือ คิม อิล-ซ็อง มิได้เป็นผู้นำคอมมิวนิสต์ที่มีอำนาจเพียงคนเดียวในเกาหลีเหนือ แต่ทว่ารัฐบาลเกาหลีเหนือในสมัยนั้นประกอบไปด้วยฝ่ายการเมืองถึงสี่ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายกองโจรแมนจูเรียคือฝ่ายของคิม อิล-ซ็อง ฝ่ายที่ให้การสนับสนุนสหภาพโซเวียต ฝ่ายที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลจีน และฝ่ายคอมมิวนิสต์จากเกาหลีใต้ ซึ่งฝ่ายที่เป็นคู่แข่งที่สำคัญที่สุดของคิม อิล-ซ็อง คือ ฝ่ายที่ให้การสนับสนุนจีนหรือที่เรียกว่า ฝ่ายย็อนอัน (เกาหลี: ???) นำโดยนายคิม ดู-บง และชเว ชัง-อิก (เกาหลี: ???) พ.ศ. 2496 คิม อิล-ซ็อง โทษฝ่ายคอมมิวนิสต์เกาหลีใต้ ซึ่งนำโดยนายพัก ฮ็อน-ย็อง ว่าเป็นสาเหตุทำให้กองทัพประชาชนเกาหลีไม่ได้รับการตอบรับจากชาวเกาหลีใต้ในสงครามเกาหลี พัก ฮ็อน-ย็อง และสมาชิกฝ่ายคอมมิวนิสต์ต่างถูกจับกุมดำเนินคดีต่อหน้าสาธารณชน (show trial) และจำนวนมากถูกตัดสินโทษประหารชีวิตหรือหายไปอย่างไร้ร่องรอย พัก ฮ็อน-ย็อง ถูกตัดสินโทษประหารใน พ.ศ. 2498

ผู้นำโซเวียตคนใหม่ นิกิตา ครุสชอฟ มีนโยบายต่อต้านลัทธิสตาลิน โดยผู้นำคอมมิวนิสต์ต่าง ๆ ซึ่งมีความนิยมในตัวสตาลินต่างถูกขับออกจากอำนาจ คิม อิล-ซ็อง ผู้นิยมสตาลิน (Stalinist) ถูกทางการสหภาพโซเวียตเรียกเข้ารายงานตัวที่มอสโกใน พ.ศ. 2499 เพื่อพบครุสชอฟ ครุสชอฟได้กล่าวตำหนิถึงวิธีการบริหารประเทศแบบสตาลินของคิม อิล-ซ็อง ได้แก่ความเผด็จการและการสร้างลัทธิบูชาตัวบุคคล และเน้นย้ำให้คิม อิล-ซ็อง เห็นถึงหลักการของภาวะผู้นำร่วม (collective leadership) ขณะที่คิม อิล-ซ็อง อยู่ที่เมืองมอสโคนั้น ฝ่ายย็อนอันได้ฉวยโอกาสนี้พยายามก่อการยึดอำนาจจากคิม อิล-ซ็อง โดยชเว ชัง-อิก ได้กล่าวสุนทรพจน์ตำหนิการบริหารประเทศของคิมว่ารวบอำนาจไว้ในมือของตนแต่เพียงผู้เดียวเป็นเผด็จการ แต่ทว่าสมาชิกพรรคคนอื่น ๆ ในรัฐบาลไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจของฝ่ายย็อนอัน เมื่อคิม อิล-ซ็อง เดินทางกลับมาจึงสั่งให้มีการสอบสวนจับกุมผู้นำฝ่ายย็อนอันทั้งหลาย คิม ดู-บง ผู้นำฝ่ายย็อนอันแม้จะไม่ได้มีส่วนร่วมในการก่อการครั้งนี้แต่ก็ถูกตัดสินโทษประหารชีวิต เช่นเดียวกับชเว ชัง-อิก ผู้ริเริ่มในการก่อการครั้งนี้

ในปี พ.ศ. 2515 รัฐบาลเกาหลีเหนือประกาศร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง โดยให้นายคิม อิล-ซ็อง ดำรงตำแหน่งเป็น "ประธานาธิบดี" ซึ่งได้รับเลือกจากสภาประชาชนสูงสุด (Supreme People's Assembly) ซึ่งมีพรรคแรงงานแห่งเกาหลีมีเสียงข้างมากอยู่

ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีนักของรัฐบาลเกาหลีภายใต้การนำของคิม อิล-ซ็อง กับสหภาพโซเวียตนำโดยนิกิตา ครุสชอฟ และสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้เกาหลีเหนือขาดความช่วยเหลือจากประเทศมหาอำนาจคอมมิวนิสต์ทั้งสอง หลังสงครามเกาหลีเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือยังคงสามารถฟื้นฟูและอยู่รอดได้จากการผลิตภายในประเทศ อย่างไรก็ตามในช่วงทศวรรษ 1970 วิกฤตราคาน้ำมันโลก ประกอบกับการลงทุนมหาศาลของรัฐบาลเกาหลีเหนือไปกับการทหารทำให้เศรษฐกิจของเกาหลีเหนือถดถอยลง ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศคู่แข่งอย่างเกาหลีใต้กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรมและทุนนิยม ในคณะเดียวกันนั้นคิม อิล-ซ็อง ได้ริเริ่มแนวความคิดชูเช (เกาหลี: ??) อันเป็นแนวคิดลัทธิคอมมิวนิสต์แบบสตาลินนิสต์ในรูปแบบของเกาหลีเหนือเอง อันประกอบไปด้วยการพึ่งพาตนเองโดยสมบูรณ์แบบในสามด้าน ได้แก่ ทางด้านการเมือง (เป็นอิสระจากการครอบงำของทั้งโซเวียตและจีน) ทางเศรษฐกิจ และทางการทหาร รวมทั้งมีลัทธิบูชาตัวบุคคลของคิม อิล-ซ็อง หลังจากที่การกู้เงินจากต่างชาติเพื่อมาลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไม่ประสบความสำเร็จ รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงตัดสินใจที่จะปิดประเทศตัดสัมพันธ์ทางการค้าและการทูตกับประเทศอื่น ๆ เกือบทั้งหมด รัฐบาลเกาหลีออกประกาศนโยบายชูเชออกมาอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2525

อย่างไรก็ตามนโยบายชูเชกลับยิ่งตอกย้ำซ้ำเติมเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือให้ตกต่ำลงไปอีก เมื่อขาดความช่วยเหลือจากภายนอก เมื่อการผลิตภายในประเทศล้มเหลวในช่วงทศวรรษ 1990 อันเนื่องมากจากภัยธรรมชาติทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารข้าวยากหมากแพงขึ้นทั่วไปในประเทศ นำไปสู่ทุพภิกขภัยเกาหลีเหนือ ซึ่งรัฐบาลเกาหลีได้ให้ชื่อเหตุการณ์ภาวะอดอยากในครั้งนี้ว่า "การเดินขบวนแห่งความยากลำบาก" (เกาหลี: ??? ??) ในช่วง พ.ศ. 2537 ถึง 2541 ทำให้มีประชาชนขาวเกาหลีเหนือเสียชีวิตไปเป็นจำนวนประมาณ 240,000 ถึง 3,500,000 คน ในขณะเดียวกันนั้นรัฐบาลเกาหลีเหนือยังคงครอบงำประชาชนด้วยลัทธิชูเชและลัทธิบูชานายคิม อิล-ซ็อง ต่อไป และแก้ไขปัญหาภาวะความอดอยากอย่างไร้ประสิทธิภาพ

คิม อิล-ซ็อง หมายมั่นที่จะให้บุตรชายคนโตของตนที่เกิดจากภรรยาคนแรกคือ นายคิม จ็อง-อิล เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำของพรรคแรงงานแห่งเกาหลีต่อไป โดยใน พ.ศ. 2507 นายคิม จ็อง-อิล ได้รับการแต่งตั้งเข้าทำงานในแผนกจัดระเบียบและวางแนวทาง (Organization and Guidance Department) ของพรรคแรงงานแห่งเกาหลี อันเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อปูทางสำหรับคิม จ็อง-อิล ให้ขึ้นสู่อำนาจโดยเฉพาะ ต่อมาใน พ.ศ. 2516 คิม จ็อง-อิล ได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นเลขาธิการพรรคแรงงานแห่งเกาหลี ความก้าวหน้าทางการเมืองของคิม จ็อง-อิล ทำให้นานาชาติคาดการณ์ว่าเขาน่าจะเป็นผูสืบทอดต่อจากคิม อิล-ซ็อง ผู้เป็นบิดา พ.ศ. 2534 คิม จ็อง-อิล ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลี เป็นการแสดงออกของนายคิม อิล-ซ็อง ว่า คิม จ็อง-อิล ผู้เป็นบุตรชายนั้นเป็นผู้สืบทอดอำนาจอย่างแท้จริง การสืบทอดตำแหน่งต่อจากบิดาของนายคิม จ็อง-อิล ทำให้เกาหลีเหนือกลายเป็นรัฐเผด็จการแบบสืบทอด หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยพฤตินัย

วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง แห่งเกาหลีเหนือ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจขาดเลือดเมื่ออายุ 82 ปี หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของคิม อิล-ซ็อง ผ่านไปแล้วกว่า 34 ชั่วโมง รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงประกาศการถึงแก่อสัญกรรมของคิม อิล-ซ็อง อย่างเป็นทางการ และประกาศช่วงเวลาการไว้ทุกข์เป็นเวลาสิบวัน ซึ่งงานรื่นเริงทุกชนิดถูกห้าม มีชาวเกาหลีเหนือเข้าร่วมพิธีศพของประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง กว่าหนึ่งพันคนในวันที่ 17 กรกฎาคม ศพของคิม อิล-ซ็อง ตั้งไว้ที่วังสุริยะคึมซูซัน (Kumsusan Palace of the Sun) ในเมืองเปียงยาง อันเป็นที่พำนักอยู่เดิมของประธานาธิบดีผู้ล่วงลับ

หลังจากที่ประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็อง ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว คิม จ็อง-อิล ผู้เป็นบุตรชายได้สืบทอดตำแหน่งเลขาธิการพรรคแรงงานเกาหลี อันเป็นตำแหน่งสูงสุดของพรรคแรงงานเกาหลี และตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการป้องกันประเทศ (Chairman of the National Defence Commission) แต่คิม จ็อง-อิล นั้นไม่ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีต่อจากบิดา การแก้ไขรัฐธรรมนูญปีพ.ศ. 2538 ได้ยกเลิกตำแหน่งประธานาธิบดีและยกย่องให้อดีตประธานาธิบดีคิม อิล-ซ็องนั้น เป็น"ประธานาธิบดีตลอดกาล" (Eternal President; เกาหลี: ??? ??) การแก้ไขรัฐธรรมนูญปีพ.ศ. 2556 ยังคงยืนยันสถานะความเป็นประธานาธิบดีตลอดกาลของคิม อิล-ซ็อง

ปัจจุบันสถานที่และสถาบันหลายแห่งในเกาหลีเหนือใช้ชื่อของคิม อิล-ซ็อง อันเป็นส่วนหนึ่งของลัทธิบูชาตัวบุคคล ยกตัวอย่างเช่น จตุรัสคิมอิลซ็อง (Kim Il-sung Square) อันเป็นจตุรัสใหญ่ของนครเปียงยาง หรือ มหาวิทยาลัยคิมอิลซ็อง


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301